ประวัติศาสนาซิกข์

 

สัญลักษณ์ของศาสนาซิกข์ที่ใช้ในปัจจุบัน

 

ศาสนาซิกข์ หรือ ศาสนาสิกข์ ( อังกฤษ: Sikhism) เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในตอนเหนือของอินเดีย จากคำสอนของ นานัก และคุรุผู้สืบทอดอีก 9 องค์ หลักปรัชญาของศาสนาซิกข์และการปฏิบัติตามหลักศาสนา นิยมเรียกว่า “คุรมัต” (ความหมายโดยพยัญชนะ หมายถึง “คำสอนของคุรุ” หรือ “ธรรมของซิกข์”)

คำว่า “ซิกข์” หรือ “สิกข์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “ศิษฺย” หมายถึง ศิษย์ ผู้เรียน หรือ “ศิกฺษ” หมายถึง การเรียน และภาษาบาลีว่า “สิกฺข” หรือ “สิกฺขา”  หมายถึง การศึกษา ผู้ศึกษา หรือผู้ใฝ่เรียนรู้

ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยม เนื่องจากหลักความเชื่อของศาสนาซิกข์ คือ ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว คือ “วาหคุรู” ปฏิบัติสมาธิในนามของพระเจ้า และโองการของพระเจ้า ศาสนิกชาวซิกข์จะนับถือหลักคำสอนของคุรุซิกข์ทั้ง 10 หรือผู้นำผู้รู้แจ้ง และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า “คุรุ ครันถ์ สาหิพ” ซึ่งเป็นบทคัดสรรจากผู้เขียนมากมาย จากภูมิหลังทางศาสนา และเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย คัมภีร์ของศาสนาเป็นบัญญัติของคุรุ โคพินท์ สิงห์ คุรุองค์สุดท้ายแห่งขาลสา ปันถ (Khalsa Panth) การสอนและหลักปฏิบัติของศาสนาซิกข์มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคปัญจาบในลักษณะต่างๆ กัน

ศาสนาซิกข์นับเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาซิกข์มากกว่า 23 ล้านคนทั่วไป ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐปัญจาบ ของอินเดีย

ใส่ความเห็น